เทคนิคการโค้ชแบบ Appreciative coaching

ในบทความเรื่องการโค้ช ผมได้อธิบายแล้วว่า การโค้ช คือการช่วยพาคนจากจุดที่เขาอยู่ ณ ปัจจุบันไปสู่จุดที่เขาต้องการ เปรียบเหมือนกับการที่โค้ชชี่ยืนอยู่ที่สยามพารากอนแล้วก็อยากจะไปที่ไบเทคบางนา จริงๆโค้ชชี่ไปเองได้ แต่การเดินไปมันช้าและเหนื่อย แดดก็ร้อน โค้ชเปรียบเหมือนแท๊กซี่ที่จะช่วยพาโค้ชชี่ไปยังจุดที่ตนเองต้องการได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น

ทีนี้ในการขับรถ มันก็ต้องมีเส้นทางที่โล่ง ทางที่รถติด ทางแคบ ทางขึ้นเนิน ทางลงเนิน ฯลฯ ซึ่งการขับในเส้นทางที่ต่างกันนั้น ผู้เป็นโค้ชก็จะต้องใช้เกียร์และเทคนิคการขับต่างกัน ในช่วงที่เป้นทางโล่ง โค้ชอาจจะขับเร็วขึ้น ในช่วงที่รถติด อาจจะปล่อยไหลช้าๆ ในช่วงขึ้นเนิน อาจจะต้องเร่งเครื่องอย่างหนัก เพื่อให้การพาโค้ชชี่ไปส่งเป็นไปอย่างเรียบร้อยและสะวดกที่สุด

อ่านเพิ่มเติม

VAK กับการฝึกวิชาของจอมยุทธ

VAK คือ ศาสตร์ที่มีขึ้นค้นหา “ความถนัด” ของบุคล โดยแบ่งความถนัดตามการรับรู้จากประสาทสัมผัส

เนื่องจากประสาทสัมผัสของคนรามีทั้งหมด 5 อย่างครับ ได้แก่

  1. ตามองเห็น (Visual)
  2. หูได้ยิน (Auditory)
  3. จมูกได้กลิ่น (Olfactory)
  4. ลิ้นรับรส (Gustatory)
  5. กายสัมผัส (Kinesthetic)

อ่านเพิ่มเติม

โค้ชชิ่ง (Coaching) คืออะไร?

การโค้ชมาจากคำว่า Kocs ที่มาจากภาษาฮังการีซึ่งหมายถึงรถม้าขนาดใหญ่ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 มีการใช้คำนี้แพร่หลายในทวีปยุโรป เนื่องจากช่วงนั้นถนนในทวีปยุโรปยังเป็นทางธุรกันดาร การคมนาคมทำได้อย่างลำบาก การเดินทางด้วยรถม้าขนาดใหญ่จึงเป็นวิธีเดินทางที่สะดวกและรวดเร็วที่สุดในตอนนั้น คำว่า โค้ช จึงถูกนำมาใช้ในความหมายว่า เป็นการเคลื่อนย้ายจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างสะดวกรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อ่านเพิ่มเติม

Appreciative listening (ฟังถึงแก่น)

 

ถ้าจะแปล Appreciative listening แบบตรงตัว ก็คงต้องแปลว่า เป็นการฟังเพื่อต้องการความสุนทรีย์ ฟังแบบสบายๆ สนุกๆ ผ่อนคลาย แต่ในบทความนี้ผมอยากจะอธิบายลงไปให้ลึกอีกหน่อยครับ

เรามาแยกคำดีกว่าเพื่อให้เห็นรายละเอียด คำแรกคือคำว่า Appreciative ถ้าไปเปิดดิก เราจะเจอความหมายประมาณว่า ขอบคุณ ซาบซึ้งใจ ชื่นชม ฯลฯ แต่ในที่นี้ ผมขออธิบายคำว่า Appreciative ตามแบบของอาจารย์ David cooperrider ผู้ก่อตั้งวิชา Appreciative Inquiry นะครับ คำว่า Appreciative มันมีนัยยะ 2 อย่างคือ อ่านเพิ่มเติม