ญาณทัศนะ(intuition) หรือ Implicit memory ???

ผมว่าจะเขียนเรื่องนี้ตั้งนานละ แต่ทำนู่นทำนี่เลยลืม

คือตอนนั้นผมได้อ่านหนังสือ Blink ของ Malcolm Gladwell ที่พูดเรื่องการเชื่อความคิดให้น้อยลงแล้วให้เชื่อการ Blink มากขึ้น โดยมีผลการวิจัยออกมาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการ Blink ไม่ต่างจากการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลซักเท่าไหร่

ตัวอย่างแรกที่ Gladwell ยกขึ้นมาอธิบายคือเรื่องของนักพิสูจน์ความเก่าของรูปปั้นด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ใช้เวลานานมากในการพิสูจน์ว่ารูปปั้นนั้นเป้นของจริงหรือไม่ ที่สำคัญผลจากการพิสูจน์โดยผ่านการทดลองนู่นนั่นนี่คือ ไม่รู้ว่ารูปปั้นนี้จริงหรือไม่จริง แต่เมื่อพิพิธภัณฑ์เชิญนักศิลปะคนนึงมาดู แค่แว๊บแรกที่เห็นเขาก็บอกได้เลยว่าอันนี้รูปปั้นปลอม

ผมคิดว่า Gladwell ต้องการจะสื่อว่า บางทีวิเคราะห์มากๆก็ผิดได้นะโว้ย ให้เชื่อการ Blink ที่เกิดขึ้นบ้าง แต่ผมกลับรู้สึกว่าตัวอย่างนี้มันไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการเขาเท่าไหร่ ผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้นักศิลปะคนนั้นสามารถรู้ว่ารูปปั้นเป็นของปลอมจากการมองแค่แว๊บเดียว ไม่ใช่การ Blink แต่เป็นสิ่งที่เรียกว่า Implicit memory

เรื่องนี้นักศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวจะเข้าใจดี เราจะถูกฝึกให้ทำท่าทางเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา เหมือนนักมวยที่เวลาล่อเป้า เทรนเนอร์จะชกให้โยกหลบแล้วก็ต่อยสวน เวลาขึ้นเวทีจริงๆ จังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามชกมาเร็วๆ เราคิดไม่ทันหรอกครับว่าจะรับยังไง แต่ทุกอย่างมันก็จะออกไปตาม “สัญชาติญาณ” ที่เคยฝึกมา อาจารย์ผมชอบยกตัวอย่างว่า เหมือนเวลาที่เราขับรถแล้วมันมีรถมาตัดหน้า จังหวะนั้นเราไม่ได้ “คิด” ว่าจะทำอะไร แต่มือเราหมุนพวงมาลัย ขาแล้วเหยียบคลัช มือเข้าเกียร์ เหยียบเบรค ทุกอย่างจะเกิดขึ้นในจังหวะเดียวแล้วก็สอดคล้องกันมาก

 

Explicit-and-implicit-memory

(ที่มารูปจาก : คลิ๊กที่นี่ )

 

Implicit memory จึงเกิดจากการทำอะไรซ้ำๆ ทำจนเราแทบไม่ได้คิดว่าจะต้องทำอะไร มันออกมาเอง ซึ่งถ้าพูดให้ลึกขึ้นก็คือ เมื่อสมองเคยชินกับการทำอะไรซ้ำๆ วงจรการเชื่อมต่อในสมองจะเปลี่ยนเพื่อให้ประมวลผลง่ายขึ้น โดยการที่จิตใต้สำนึกมันจะ link กันเองโดยกระบวนการนี้ไม่ผ่านจิตสำนึก ดังนั้นเราถึงไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง เพราะจิตสำนึกมันวิเคราะห์ไม่ทัน

และเมื่อจิตสำนึกวิเคราะห์ไม่ทัน เราเลยคิดหรือเข้าใจ(เอาเอง)ว่า มันไม่มี เราก็เลยรู้สึกแบบ เฮ้ย ความคิดนี้มาจากไหนวะ นี่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยนะเนี่ย จริงๆคือมันมี Source อยู่แล้ว เยอะด้วย แต่เราไม่รู้ตัวต่างหากว่ามีมันอยู่

และยิ่งจังหวะที่เรายังรับสารไม่ครบ แล้วจิตใต้สำนึกมันประมวลความคล้ายได้เองละก้อ เราก็จะรู้สึกว่าได้คำตอบแล้ว ทั้งๆที่คำถามยังถามไม่จบด้วยซ้ำ

นั่นแหละ ผมเลยว่าที่นักศิลปะสาารถบอกได้ทันทีว่ารูปปั้นเป้นของปลอมทั้งๆที่เห้นแค่แว๊บเดียว ผมเชื่อว่ามันคือ Implicit memory ไม่ใช่ Blink ผมเชื่อว่านักศิลปะคนนั้นต้องดูงานมาเป็นพันๆชิ้น ผมเชื่อว่า Source ของเขามีมหาศาล จนแค่มองแว๊บเดียวมันก็ประมวลผลได้

จริงๆไม่ต้องยกตัวอย่างฝรั่งก็ได้ ผมเองยังเป็นบ่อยๆ เมื่อก่อนพี่ผมชอบเช่าพระมาจากในเน็ต พอดีมีองค์นึงเป็นสายที่ผมนับถืออยู่(ผมไม่ได้เล่นพระ แต่ที่บ้านนับถือเลยบังเอิญรู้) แว๊บแรกที่มอง ยังไม่ต้องส่องกล้อง ผมก็บอกเลยว่าองค์นี้เก๊ตาเปล่า จริงๆมันเหมือนมากนะครับ ผมก็บอกไม่ถูกเหมือนกันว่ารู้ได้ไง แต่เราเคยจับของจริงมาอ่ะ เรารู้แค่ว่าอันนี้แปลกๆ ภาษาคนเล่นพระเขาจะบอกว่า ไม่ชอบ คือไม่ได้บอกว่าเก๊ แต่ดูแล้วรู้สึกยังไงๆไม่รู้เลยไม่เอา (เช่นเดียวกัน องค์ที่คนเชื่อว่าเก๊ แต่ดูแล้วชอบ เซียนจะซื้อครับ)

ที่ว่ามาทั้งหมด ผมพูดเรื่อง Implicit memory นะครับ แล้วผมไม่ได้บอกนะว่า Blink คือ Implicit memory นะ ผมเชื่อล้านเปอร์เซ็นต์ว่า Blink มันก็คือ Blink มันมีสภาวะการ Blink จริงๆ เพียงแต่ว่ามันต้องแยกให้ออกเท่านั้นเองว่าอะไรคือ Blink อะไรคือ Implicit memory

เรื่องนี้รายละเอียดเยอะครับ ไว้ว่างๆจะมาเล่าใหม่

 

ปล. เอ๊ะ หรือว่า Blink ในความหมายของ Gladwell คือ Implicit memory ???

(ที่มารูปหน้าปกจาก : คลิ๊กที่นี่ )

test1

ใส่ความเห็น